
รู้จักผักหวานบ้าน ผักทำเงินทางการเกษตร!
On ตุลาคม 4, 2020 by Avaรู้จักผักหวานบ้าน หรือ Star gooseberry เรียกได้ว่าเป็นผักที่มีความต้องการในตลาดค่อนข้างสูง แถมบางปีราคาของผักหวานบ้านยังพุ่งสูง เทียบเท่ากับราคาหมูที่เราใช้ประกอบอาหารกันเป็นประจำเลยด้วย เรื่องความอร่อยของผักหวานที่เอามาประกอบอาหาร เราเชื่อว่าเพื่อน ๆ คงรู้กันดีอยู่แล้ว ว่ามันอร่อยมากแค่ไหน แต่บทความในวันนี้จะพาเพื่อน ๆ ไปทำความรู้จักกับผักหวานบ้านให้มากขึ้น โดยจะบอกทั้งข้อดี ข้อควรระวัง และแนวทางการปลูกผักหวานบ้าน ตามวิถีของเกษตรกร ว่าเขาทำกันอย่างไร พร้อมแล้วไปดูกันเลยค่ะ

ผักหวานบ้านคืออะไร?
จากข้อมูลในทางสากล บอกเอาไว้ว่าผักหวานบ้าน มีชื่อภาษากะเหรี่ยงเรียก ตาเชอเด๊าะ เป็นผักพื้นเมืองที่เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง แตกกิ่งโน้มลงด้านล่าง ใบเดี่ยว ก้านใบสั้น ดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ ก้านดอกห้อยลง ดอกแยกเพศ กลีบรวมอวบน้ำ ใบผักหวานบ้านนั้นมีส่วนที่คล้ายใบมะยม
แต่ว่าแตกต่างจากใบมะยมตรงที่ผักหวานบ้านจะมีนวลสีขาว ๆ บนหน้าใบ ซึ่งผักหวานบ้านเป็นผักชนิดหนึ่ง ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงมาก นอกจากนี้ สารสกัดด้วยเอทานอลยังมีฤทธิ์ทางอัลลีโลพาที สามารถยับยั้งการเจริญของคะน้าได้ด้วย ดังนั้นชาวกะเหรี่ยงนำยอดอ่อนและใบอ่อนลวกหรือต้ม รับประทานกับน้ำพริก หรือใส่ในแกงปลาแห้งนั่นเอง
แนวทางการปลูกผักหวานบ้าน
ข้อมูลจากเกษตรกรที่ปลูกผักหวานบ้านเป็นอาชีพ บอกเอาไว้ว่าการปลูกผักหวานบ้าน ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝนจนถึงกลางฤดูฝน โดยใช้ต้นพันธุ์จากกิ่งปักชำหรือกล้าเพาะเมล็ดที่แตกใบแล้ว 5-7 ใบ หรือมีความสูงของต้นกล้า ประมาณ 20-30 เซนติเมตร นำปลูกลงหลุมที่เตรียมไว้
ที่สำคัญคืออย่าลืมล้อมรั้วด้วยรั้วตาข่ายเกษตรด้วย มิฉะนั้น สัตว์เลี้ยงของคุณอาจจะเข้ามากิน มาทำลายทำให้ต้นผักหวานของคุณไม่ขึ้น และคุณควรป้องกันไว้ ระหว่างที่กำลังเพาะเลี้ยงต้นผักหวานให้เจริญเติบโตเต็มวัย ควรล้อมรั้วตาข่ายเกษตร ซึ้งทำมาเพื่อป้องกันสัตว์เล็กสัตว์ใหญ่บุกรุกทำลายผักที่ยังเป็นอนุบาลอยู่นั่นเอง

การใส่ปุ๋ยให้ผักหวานบ้านเจริญเติบโต
สำหรับแนวทางการให้อาหารจากปุ๋ย ว่ากันว่าต้องให้ปุ๋ยเคมีให้ใส่เดือนละครั้ง ส่วนปุ๋ยคอกให้ใส่ 3 เดือน/ครั้ง โดยปุ๋ยเคมีจะใช้สูตร 15 – 15 -15 เป็นหลัก สลับกับสูตร 13 – 21 – 21 เช่น 2 เดือน แรก ใส่สูตร 15 – 15 – 15 ไป เดือนต่อไปให้ใส่สูตร 13 – 21 -21 และพอเดือนถัดไปให้กลับมาใช้สูตร 15 – 15 -15 อีกครั้ง
โดยใช้การโรยรอบโคนต้นหรือแบบหว่านข้าวให้ทั่ว ทั้งนี้ ควรเพิ่มปุ๋ยคอกร่วมด้วย เพราะจะทำให้ยอดผักหวานมีรสหวาน และกรอบมากขึ้น รวมถึงลดกลิ่นเหม็นเขียวที่เป็นปัญหาในการรับประทาน หลังจากเก็บไปขายหรือประกอบอาหารได้ด้วยนั่นเอง
แนวทางการให้น้ำของผักหวานบ้าน
อย่างที่แจ้งไปก่อนหน้านี้ ว่าการปลูกผักหวานั้น ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน ไปจนถึงกลางฤดูฝน ฉะนั้น ในช่วงเวลาดังกล่าวต้นพันธุ์จะได้รับน้ำจากฝนอย่างสม่ำเสมอ และเพียงพอต่อการเติบโตไปจนถึงฤดูแล้งได้ แต่เมื่อไหร่ที่ฤดูแล้งมาถึง ผู้ปลูกควรให้น้ำเพิ่ม สัปดาห์ละ 1 ครั้ง โดยเฉพาะในช่วงการเก็บยอดอ่อน ยิ่งต่องใส่ใจเรื่องการให้น้ำมากเป็นพิเศษ
แนวทางการแต่งกิ่งของผักหวานบ้าน
สำหรับแนวทางของการตัดแต่งกิ่ง หรือ การทำสาว เป็นการตัดแต่งต้น และกิ่งผักหวานที่เติบโตยาวหรือสูงเกินไป ทำให้การเก็บยอดไม่สะดวก โดยนิยมตัดแต่งกิ่งเมื่อต้นผักหวานเติบโตได้ ประมาณ 1 ปี และจะตัดแต่งกิ่งในทุก ๆ ปี การตัดแต่งกิ่งนั้น ให้ท่านเริ่มตัดสูงเหลือต้นประมาณหัวเข่าหรือถึงเอว กิ่งที่ตัดทิ้ง
ให้คัดเลือกนำไปปักชำขยายพันธุ์ต่อ เพื่อจำหน่ายหรือปลูกขยายเพิ่ม ทั้งนี้ หลังการตัดแต่งกิ่งแล้วให้รดน้ำตามปกติภายใน 15 วันผักหวานจะให้ผลผลิตที่แตกออกมาอีกครั้ง ส่วนเรื่องการเก็บยอดอ่อน ให้เก็บในช่วงเช้าจนถึงก่อน 10 โมงเช้า เพราะหากเก็บในช่วงเวลาที่นานไปกว่านั้น แดดร้อน ๆ ของประเทศไทยจะทำให้ใบและยอดอ่อนจะเริ่มอ่อนตัว ยอดไม่สด และเก็บไว้ได้ไม่นานนั่นเองค่ะ

ประโยชน์ผักหวานบ้าน
- ใบอ่อน และยอดอ่อนของผักหวานบ้าน สามารถนำมารับประทานสดคู่กับกับข้าวที่มีรสเผ็ดได้ เช่น น้ำพริก หรือใส่ทำเป็นแกง ซุปหน่อไม้ เป็นต้น เนื่องจากใบอ่อน และยอดอ่อนมีความกรอบ ให้รสหวาน นอกจากนั้น ยังใช้ประกอบอาหารในหลายเมนู เช่น แกงอ่อม แกงเลียง และแกงจืด เป็นต้น แต่หากทำสุกความหวานจะลดลง ไม่เท่ากับการรับประทานผักหวานสด แถมการทำให้สุกยังจะส่งกลิ่นเหม็นเขียวตามมาภายหลังด้วย
- ใบอ่อนและยอดอ่อนผักหวาน เมื่อนำมาล้างนำให้สะอาด นำไปตากแดดให้แห้ง 7-10 วัน สามารถใช้ชงเป็นชาดื่มได้ โดยในประเทศฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เชื่อว่าใบและยอดผักหวานบ้าน สามารถช่วยกระตุ้นการเพิ่มและการหลั่งน้ำนมได้ จึงนิยมใช้เลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะโคนม เพื่อให้มีน้ำนมเพิ่มขึ้น แต่ทั้งนี้ ผักหวานบ้านสามารถใช้เป็นอาหารสัตว์เลี้ยงทั่วไปได้ โดยเฉพาะโค กระบือ แพะ และแกะ
พิษ และข้อควรระวังของผักหวานบ้าน
- จากงานวิจัยของสถาบันหนึ่ง บอกว่าผักหวานบ้านให้แก่กระต่าย พบว่า สามารถเพิ่มการหลั่งน้ำนมได้ แต่มีผลข้างเคียง คือ มีผลต่อการแท้งลูก
- และการใช้ผักหวานบ้านเป็นอาหารเสริมให้กับไก่เนื้อ ที่ปริมาณ 10-30 กรัม/น้ำหนักตัวกิโลกรัม พบว่า การให้ผักหวานบ้านไม่มีผลต่อการเพิ่มน้ำหนักตัว และปริมาณโปรตีน แต่พบว่ามีผลต่อการลดลงของปริมาณไขมันที่สะสมในตัวปลาได้
และทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของผักหวานบ้าน ผักกรอบ ๆ ที่นำมาประกอบเมนูไหนก็อร่อย ยิ่งช่วงนี้เป็นช่วงหน้าฝน ยิ่งพบมากในท้องตลาด และหากคุณเองก็อยากลองปลูกผักหวานเอาไว้รับประทานบ้าง ลองทำตามคำแนะนำข้างต้นได้เลยค่ะ คราวนี้มาดู สล็อตออนไลน์ ยอดนิยมที่แจ็คพอตมาบ่อย
บทความแนะนำ : แนะนำ 10 ช็อคโกแลตเบลเยี่ยม ที่อร่อยที่สุด